ads

วิถีชีวิตของซูโม่ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้าและทันสมัย แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังคงอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม กีฬาที่มีมาตั้งแต่งโบราณ จึงเป็นสังคมที่ผสมผสานอดีต และปัจจุบันได้อย่างลงตัว

หนึ่งในกีฬาที่ยังคงอนุรักษ์จนถึงปัจจุบันนั้นก็คือ กีฬาซูโม่


ในทางประเพณีนักกีฬาซูโม่จะมีแต่ผู้ชายเท่านั้น  ซึ่งนักมวยปล้ำซูโม่นั้น จะเรียกว่า ริชิกิ

ในญี่ปุ่นจะมีนักกีฬาซูโม่ประมาณ 660 คนในญี่ปุ่นกระจายอยู่ทั่วโรงฝึก 47 แห่งในญี่ปุ่น ซึ่งโรงฝึกจะมีชื่อเรียกว่า เฮยะ

ครูฝึกจะเรียกว่า โอยะคาตะ ส่วนใหญ่จะเป็นอดีตนักกีฬาซูโม่ระดับสูงที่ลาสังเวียนแล้ว


นักมวยปล้ำซูโม่ ต้องสูงอย่างน้อย 167 ซม มีน้ำหนักอย่างน้อย 67 กก  คนที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องเรียนจบมัธยมปลาย อยู่ในช่วงอายุ18 - 22 ปี ต้องผ่านการตรวจเลือดเพื่อเช็คสภาพร่างกาย ไม่เป็นโรคใดๆ


นักมวยปล้ำซูโม่จะฝึกกันที่สนามต่อสู้คือ โดเฮียว เป็นสนามทรายรูปวงกลม ซึ่งวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 4.5. ตรงกลางจะมีเส้นสองเส้น เรียกว่า ชิคิริ เซน ซึ่งนักมวยปล้ำจะยืนอยู่หลังเส้นนี้ 
ในสนามแข่งใหญ่ๆ อาจมีหลังคาที่คล้ายกับหลังคาศาลเจ้าก็ได้



photo : http://morph.nagioff.com/



กายบริหารที่ทำร่วมกับการเล่นซูโม่คือ ชิโกะ ซึ่งจะเป็นการยกขาทีละข้างให้สูงที่สุดและปล่อยขาลงให้แรงที่สุด ซึ่งจะช่วยปรับสมดุล และความคล่องแคล่ว
สิ่งสำคัญคือ ในตอนที่ยกขา จะต้องเกร็งหน้าท้อง 



การบริหารร่างกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อเรียกว่า เทปโปะ เป็นการใช้มือเปล่าสลับกัน นักมวยปล้ำต้องใช้มือตบเสาไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว จะต้องให้ศูนย์ของแรงโน้มถ่วงโน้มไปด้านหน้า ทำให้นิ้วเท่าตรง จากนั้นก็ดันด้วยกล้ามเนื้อขาและหน้าท้อง  
ใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องสร้างแรงของแขน


สุริอาชิ เป็นท่าที่ต้องย่อตัวและเคลื่อนตัวไปด้านหน้า โดยไม่ยกเท้าออกจากพื้น จะต้องแยกเท้าออกจากกัน หน้าอกโน้มไปด้านหน้า  เพื่อเพิ่มความทนทานและเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ง่ายขึ้น


นักมวยปล้ำจะฝึกเจ็ดวันต่อสัปดาห์ ช่วงเช้าจะฝึก 3 ชั่วโมง และจะมีเวลาพักผ่อนในช่วงบ่าย


ในเฮยะ นักมวยปล้ำซูโม่จะใช้ชีวิตกันเหมือนครอบครัวใหญ่ มีโอยาคาตะหรือครูฝึก เปรียบเสมือนพ่อ และภรรยาของเขาเปรียบเสมือนแม่ เรียกว่า โอคามิซัง
โอคามิซังจะคอยช่วยดูแลเรื่องสุขภาพ เรื่องอาหารการกินให้กับนักมวยปล้ำ ต้องดูแลอย่างดีเพื่อที่นักซูโม่จะได้มีสุขภาพแข็งแรง เต็มที่กับการแข่งขัน

อาหารของซูโม่
นักซูโม่จะทานข้าวแค่สองมื้อต่อวัน คือตอนเที่ยง และตอนก่อนนอน เมนูที่ใช้เพิ่มน้ำหนักคือ จังโกะนาเบะ ซึ่งเป็นต้มเค็มๆมันๆ ในการทำจังโกะนาเบะนั้นจะมีสูตรที่แตกต่างกันออกไป 



นักปล้ำซูโม่จะไว้ผมยาว ซึ่งแต่ละโรงฝึกจะมีโทโกยามะหรือช่างทำผมประจำโรงฝึกของตัวเอง โดยจะทำทรงผมแบบโบราณ คือ จมมาเกะ โดยจะทาน้ำมันลงบนผมก่อน แล้วก็หวี เมื่อเรียบดีแล้วก็จะมัดด้วยเชือก 


ซูโม่ที่ปลดเกษียนแล้ว ก็จะตัดจมมาเกะออก ในพิธีที่เรียกว่า ดัมปะสึ




ชุดที่นักซูโม่ใส่แข่งขัน  เรียกว่า มาวาชิ ซึ่งตามธรรมเนียมแล้ว พวกเขาจะซักชุดไม่ได้ เพราะเชื่อว่า จะนำโชคร้ายมาให้ แต่ถ้าได้รับอนุญาตให้ซักได้ ก็จะซักพร้อมกับชุดชั้นใน

มาวาชินักเรียนจะใส่สีดำ ส่วนโอยาคาตะจะใส่สีขาว
ในหนึ่งปี ช่วงเทศกาลพิเศษนักมวยปล้ำจะซื้อมาวาชิอันใหม่


สำหรับนักซูโมในระดับสูงอย่างเซกิโทริ  จะใส่ เคโชะ มาวาชิซึ่งเป็นมาวาชิที่ปักลวดลายสวยงาม หลากหลายสีสัน เข้าร่วมพิธีกรรม ก่อนการแข่งขัน

photo : http://robinnicholsworkshops.blogspot.com/2013/11/shooting-sumo-tournament-in-hakata.html

ส่วนระดับโยโกะสึนะ ซึ่งเป็นแชมป์ระดับสูงสุดในกีฬาซูโม่ จะสวมเชือก ชิเมนาวะซึ่งเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งในลัทธิชินโต

photo : http://galleryhip.com/yokozuna-sumo.html



นักซูโม่ที่อยู่อันดับล่างจะต้องช่วยทำงานในโรงฝึก เช่น นำของที่ซื้อมาไปเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย  ต้องช่วยเตรียมอาหาร ดูแลทำความสะอาดในส่วนต่างๆของค่ายฝึก  ล้างห้องน้ำ อ่างอาบน้ำ เป็นต้น

อ่างอาบน้ำซูโม่

นักซูโม่ที่ได้อยู่ในตำแหน่งเซกิโทริ จะได้รับเงินเดือนจากสมาคมซูโม่ซี่ปุ่น มีรุ่นน้องคอยรับใช้  และสามารถแต่งงาน มีครอบครัวอาศัยอยู่นอกเฮยะได้  ซึ่งนักมวยปล้ำถ้าไม่ได้เป็นเซกิโทริ จะไม่สามารถออกมาใช้ชีวิตนอกโรงฝึกได้ และจะไม่ได้เงินเดือน  

เซกิโทริเมื่อได้เงินเดือน ก็อาจมีการแบ่งปันให้กับรุ่นน้องด้วย เช่น พาไปเลี้ยงอาหาร ให้เงินใช้บ้าง เป็นต้น
ซึ่งในบรรดานักมวยปล้ำ 700 คน จะมีคนที่ผ่านเกณฑ์ 80คน


photo : http://robinnicholsworkshops.blogspot.com/2013/11/shooting-sumo-tournament-in-hakata.html

นักมวยปล้ำซูโม่จะมีชื่อที่ใช้ในการแข่งขัน เรียกว่า ชิโกะนะ ซึ่งชื่อที่ใช้ในการปล้ำอาจไม่สัมพันธ์กับชื่อจริงเลยก็ได้  

ในแต่ละปีจะมีการแข่งขันซูโม่ 6 ครั้ง
3 ครั้งจะจัดที่โตเกียว (ในเดือนมกราคม พฤษภาคม และกันยายน) 
และอีกแห่งละ 1 ครั้ง ที่โอซาก้า (มีนาคม) นาโงยา (กรกฎาคม) และฟุกุโอะกะ(พฤศจิกายน)

การแข่งขันจะเริ่มในวันอาทิตย์และแข่งติดต่อกันนาน  15 วัน ซึ่งจะไปสิ้นสุดที่วันอาทิตย์อีกเช่นกัน
ส่วนเซกิโทริ ทำการแข่งขัน 1 ครั้งต่อ 1 วัน ขณะที่นักปล้ำซูโม่ที่มีอันดับต่ำ จะทำการแข่งขันเพียงแค่ 7 ครั้ง โดยเฉลี่ยแล้วจะทำการแข่งขัน 1 ครั้งต่อ 2 วัน

ในการแข่งขันนั้นจะแบ่งออกเป็น 6 ระดับ  โดยไล่จากระดับสูงสุดคือ
มะคูจิ มีนักกีฬาซูโม่ลงแข่งขัน 42 คน
จูเรียว จะมีนักกีฬาซูโม่ลงแข่งขัน 28 คน
มาคุชิตะ จะมีนักกีฬาซูโม่ลงแข่งขัน 120 คน
ซันดาเมะ จะมีนักกีฬาซูโม่ลงแข่งขัน 200 คน
โจนิดัน จะมีนักกีฬาซูโม่ลงแข่งขัน 230 คน
และระดับต่ำสุดคือ โจโนคุจิ จะมีนักซูโม่ลงแข่งประมาณ 80 คน  ซึ่งต้องมีผลงานดี จึงจะได้รับการเลื่อนชั้น

ซูโม่ที่อยู่ตำแหน่งเซกิโทริ จะลงแข่งในระดับ มะคูจิ และ จูเรียว
ในระดับ มะคูจิ จะแบ่งระดับแชมป์ออกเป็น 5 ระดับย่อยอีกคือ
มาเอะกะชิระ จะอยู่ในระดับล่างสุด
ถัดขึ้นมาก็จะเป็น 3 ระดับแชมป์ คือ โคมุซุบิ เซคิวาเกะ และโอเซกิ
และอันดับสูงสุดของซูโม่คือ โยโกสึนะ

การแบ่งระดับซูโม่ (photo : http://www.mrscienceshow.com/2009/06/sumo-vs-chess-how-their-ranking-systems.html )

 ในการแข่งขันซูโม่ จะไม่มีการแบ่งแยกเกณฑ์น้ำหนัก ซึ่งบางครั้ง ก็จะทำให้นักซูโม่อาจได้คู่ต่อสู้ที่โตกว่าตัวเองถึงสองเท่า
กติกาคือต้องทำให้คู่ต่อสู้ออกนอกสังเวียนให้ได้ หรือไม่ก็ทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแตะพื้น ไม่นับฝ่าเท้า



เมื่อนักกีฬาเข้ามาที่โดเฮียว พวกเขาจะชำระพื้นด้วยเกลือ และกระทืบพื้นด้วยเท้า เพื่อขับไล่วิญญาณชั่วร้าย พวกเขาจะทักทายกันซึ่งเป็นสัญลักษณ์ความเคารพ และกลับเข้ามุมตัวเอง จากนั้นนักมวยปล้ำก็จะมองหน้ากันและกันอย่างขึงขัง สังเกตกันและกัน

พอถึงเวลา ทาจิไอ หรือการต่อสู้เบื้องต้น ซึ่งจะใช้เวลาสั้นมาก ถ้าหาการแข่งขันนั้นมีการสนับสนุนด้วยเงิน ผู้ชนะก็จะได้เงินด้วย

photo : http://robinnicholsworkshops.blogspot.com/2013/11/shooting-sumo-tournament-in-hakata.html


ผลการแข่งขันซูโม่ มีผลต่อตำแหน่งของซูโม่เช่นกัน นักซูโม่ที่ทำคาจิ-โกชิคือชนะ 8 ครั้งจากการแข่งขันทั้งหมด 15 ครั้ง ก็จะได้เลื่อนขั้น
แต่ถ้าหากเป็น มาเกะ-โกชิ คือ แพ้ 8 ครั้งจากการแข่งขัน 15 ครั้ง อันดับก็จะลดลง


ด้วยการแข่งขันที่มีอยู่หลายอันดับ และตำแหน่งอาจลดลงได้ทุกเมื่อ นักซูโม่จึงต้องพยายามอย่างหนัก หมั่นฝึกซ้อม  ไม่ย่อท้อต่อความเหน็ดเหนื่อย  เพื่อที่ตัวเองจะได้อยู่ในระดับสูงขึ้นไป และทำฝันของตัวเองให้กลายเป็นจริง



เนื้อหาจากสารคดี โรงเรียนซูโม่และมาทาดอร์
สามารถชมเนื้อหาสารคดีแบบเต็มได้ที่ S.CHADHD2

เนื้อหาเพิ่มเติม



ไม่มีความคิดเห็น:

Labels Max-Results No.

ads
ขับเคลื่อนโดย Blogger.